Wednesday, 29 May 2013

บทบาทเครื่องแต่งกายในการแสดง

บทบาทเครื่องแต่งกายในการแสดง

ความหมายของการออกแบบตกแต่งเครื่องแต่งกายในการแสดง
การออกแบบเครื่องแต่งกายเป็นการแสดงแบบตัวอย่างของเครื่องแต่งกายเพื่อใช้ในการแสดง
ซึ่งแบบตัวอย่างของเครื่องแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแนวคิด และความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบ



โดยปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของแนวคิดสร้างสรรค์ คือ ขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมของผู้คนในแต่ละยุคสมัย ในแต่ละท้องถิ่น หรืออาจเป็นการออกแบบที่ดัดแปลงมาจากเครื่องแต่งกายซึ่งกำลังได้รับความนิยมอยู่ในสมัยนั้นๆ หรือเคยได้รับความนิยมมาก่อนแล้วในอดีต

โดยเป็นการออกแบบที่อาศัยการวิเคราะห์ตีความ บทละคร ตัวละคร รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงรูปแบบการแสดง รูปร่างของนักแสดง สถานที่ที่จะใช้แสดงและวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการแสดงเป็นหลัก 




หน้าที่ของเครื่องแต่งกายสำหรับการแสดง 1

1.นำเสนอยุคสมัยของละครหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในการแสดง เครื่องแต่งกายนำเสนอภาพรวมของความนิยมของผู้คนในแต่ละสมัย เครื่องแต่งกายในแต่ละยุคก็ต่างมีเอกลักษณ์เฉพาะของตน ซึ่งสามารถบ่งบอกวิถีชีวิตและค่านิยมของผู้คนในสมัยนั้นๆ เครื่องแต่งกายที่ตัวละครสวมใส่จึงสามารถแสดงเวลาที่สถานการณ์ในละครนั้นเกิดขึ้นว่าเป็นยุคสมัยใด



2. นำเสนอสถานที่ของละคร เครื่องแต่งกายแต่ละประเภทมีหน้าที่ต่างกัน เช่น เสื้อโค้ท เป็นเสื้อที่ใช้สวมใส่เมื่อต้องการออกนอกบ้านในฤดูหนาว หรือวันที่มีอากาศหนาว โดยเป็นเครื่องแต่งกายที่จำเป็นในประเทศที่มีอากาศหนาวอย่าง ทวีปยุโรป ดังนั้นเมื่อตัวละครสวมใส่เครื่องแต่งกายประเภทใด คนดูก็จะสามารถเข้าใจได้ว่ามีลักษณะอากาศเป็นอย่างไร และน่าจะตั้งอยู่ในภูมิภาคใด เป็นต้น 3.



3.นำเสนอบุคลิกลักษณะของตัวละคร เครื่องแต่งกายแสดงออกซึ่งบุคลิกลักษณะนิสัยและรสนิยมของผู้สวมใส่



4. นำเสนอสถานภาพของตัวละคร รูปแบบ ลักษณะ และรายละเอียดการตัดเย็บของเครื่องแต่งกายแสดงนำเสนอสถานภาพของตัวละคร ว่าตัวละครนั้นมีสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจเป็นอย่างไร เช่น ลักษณะการแต่งกายของชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นแรงงานในอดีตต่างมีรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความแตกต่างนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และปัจจัยต่างๆ เช่น สถานการณ์ทางการเมือง ศาสนา สังคมและเศรษฐกิจ




ลักษณะของการออกแบบเสื้อ 

การออกแบบเสื้อแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.

1.การออกแบบในโครงสร้างของเสื้อผ้า (Structure Design) คือ การกำหนดโครงสร้าง รูปทรงและเส้นกรอบนอก ชนิดตะเข็บ ชนิดกระเป๋า สีและเนื้อผ้าที่นำมาตัดเย็บ



2. การออกแบบเพิ่มเติมภายนอกของโครงสร้าง (Decorative Design) การนำวัสดุอื่นมาตกแต่งเพิ่มเติม เพื่อสร้างรายละเอียดและลวดลายให้กับตัวเสื้อผ้า เช่น การติดลูกไม้ กระดุม โบ พู่ เป็นต้น การตกแต่งนี้นอกจะทำเพื่อเสริมให้ตัวเสื้อมีความโดดเด่นยิ่งขึ้นแล้ว ยังพิจารณาออกแบบให้สี ขนาด และพื้นผิวสัมผัสของวัสดุตกแต่งมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของเสื้อ




โดยในเนื้อหาของรายวิชานาฏยหัตถกรรม จะเน้นการออกแบบเพิ่มเติมภายนอกของโครงสร้างของเครื่องแต่งกายการแสดงเป็นหลัก





วิธีการตกแต่งเสื้อ การออกแบบตกแต่งเสื้อ

นอกจากจะช่วยให้เสื้อผ้ามีความสวยงาม น่าสนใจและดูโดดเด่นแปลกตาแล้ว ก็ยังช่วยปกปิดส่วนบกพร่องของร่างกาย และฝีมือการตัดเย็บที่ไม่ปราณีตได้ วิธีตกแต่งเสื้อ มี 3 วิธี คือ

1. ใช้เครื่องประดับเพิ่มเติมต่างหากจากตัวเสื้อ เช่น การติดเข็มกลัดดอกไม้ หรือ เข็มกลัดที่ทำจากโลหะหรือประดับด้วยเพชรพลอย

2. ทำส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นโครงสร้างของเสื้อให้น่าสนใจ การตกแต่งเสื้อวิธีนี้ เป็นการตกแต่งส่วนหนึ่งของแบบเสื้อ ไม่สามารถตัดหรือถอดออกได้ เช่น รูปแบบขอกปกเสื้อ กระเป๋าเสื้อ ตะเข็บ การตีเกล็ด เป็นต้น

3. ใช้วัสดุอื่นเพิ่มติดไปกับตัวเสื้อ การตกแต่งเสื้อด้วยวิธีนี้ แม้ไม่มีหรือขาดหายไป ก็จะไม่ทำให้แบบเสื้อเสียทรง เนื่องจากเป็นการเพิ่มรายละเอียดลงบนตัวเสื้อ เช่น การติดลูกไม้ ชายครุย โบ พู่ เป็นต้น







หลักการออกแบบตกแต่งเสื้อ

1. การตกแต่งให้สัมพันธ์กับโครงสร้างของเสื้อเพื่อไม่ให้ดูรกรุงรัง

2. การตกแต่งให้สัมพันธ์กับลักษณะปลีกย่อยและผิวสัมผัสของผ้าตัวเสื้อ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกลมกลืน

3. การตกแต่งอย่างมีเอกภาพทำให้ดูโดดเด่นและน่าสนใจกว่าการตกแต่งมากมาย หลายบริเวณ

4. การเลือกสีไม่ให้ดูขัดตา

5. ขนาดของวัสดุตกแต่งสัมพันธ์กับขนาดบริเวณที่จะตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวเสื้อ

From Link : http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0601407/Website/unit4_01.htm





No comments: